Tuesday, November 26, 2013

ความแตกต่างระหว่างความประหยัดและความงก

ผมเป็นคนคนหนึ่งที่มักจะมีคนเข้าใจผิดเสมอว่าทำไมไม่ค่อยใช้ตัง "เก็บตังมากไม่ดีนะ" เป็นคำพูดที่ผมได้ยินคนบอกอยู่เป็นประจำ ผมมีเรื่องหนึ่งที่อยากจะบอกกล่าวสำหรับเหตุการณ์เหล่านี้ดังต่อไปนี้

1. จริงเหรอ? ที่ผมไม่ได้ใช้ตัง ผู้พูดรู้ความจริงมากแค่ไหน เห็นผมเวลาผมใช้เงินหรือไม่ หรือเวลาที่ใช้เงินนั้นจำเป็นด้วยหรือไม่ที่ต้องประกาศให้ชาวบ้านรับรู้เรื่องการใช้เงินของเรา
2. รู้เหตุผลที่ผมไม่ใช้ตังเหรอ? คนแต่ละคนมีสถานการณ์ไม่เหมือนกัน มีเป้าหมายชีวิตไม่เหมือนกัน มีเรื่องที่ต้องใช้จ่ายไม่พร้อมกัน บางครั้งเวลาที่จะใช้เงินอาจจะยังไม่ถึงก็ได้
3. บางครั้งคนเรามักไม่รู้ตัวเองว่าเรากำลังถือตัวตนอยู่เมื่อกล่าวคำพูดเหล่านั้นออกมา คนเราทุกคนมีสัญชาตญาณการถือตัวตน(อัตตา) อยู่ทุกคน เวลาคนอื่นที่ทำอะไรไม่เหมือนกับตนเองมักจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่ขัดหูขัดตาอยู่เสมอ สามารถอ่านเรื่องการถือตัวตนเพิ่มเติมได้ในบทความอัตตาของมนุษย์กับความมั่งคั่ง
4.คนหลายๆคนมักจะชอบใช้เงินปรนเปรอตนเองแต่เมื่อถึงเวลาต้องใช้จ่ายส่วนรวมก็มักจะไม่จ่าย เวลาคนว่าผมว่างกผมอยากจะบอกกลับไปว่า "เมิงไปกินข้าวด้วยกันกับกูเวลาจ่ายเงินบนโต๊ะ กูจะเป็นคนแรกที่วางเงินไว้บนโต๊ะเสมอ" คำว่างกเป็นคำที่แรงมากสำหรับผม

คนหลายคนมักไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างนิสัยสองอย่างนี้คือ "ประหยัด" และ "งก"

เหตุผลที่ผมอยากจะอธิบายความหมายของสองคำนี้ก่อนเพราะว่าถ้าเราไม่เข้าใจความหมายของคำว่าประหยัดที่แท้จริงเราจะใช้เงินในการสร้างความมั่งคั่งอย่างผิดๆ เรามักจะคิดว่าคนรวยมักจะงก ซึ่งความคิดนี้ผิดอย่างมหันต์ ผมขอยกตัวอย่างชาย 2 คนนี้ครับ

นาย A มักจะไม่ค่อยใช้เงิน มักจะเปลี่ยนมือถือ , รองเท้า และของใช้ของตัวเองน้อยมากมักจะยังใช้ต่อไปจนกว่ามันจะพัง เดินทางมักจะใช้รถสาธารณะเสมอเพราะเดินทางเพียงคนเดียว  วันหนึ่งลูกชายป่วยดูเหมือนจะเป็นหวัด ภรรยาเสนอว่าแค่นี้น่าจะเป็นหวัดธรรมดา แต่นาย A เมื่อเห็นลูกชายป่วยรีบส่งเข้าโรงพยาบาลโดยไม่สนใจว่าจะมีค่าใช้จ่ายมากขนาดไหนก็ตามเพราะชีวิตลูกชายสำคัญนัก เมื่อหายป่วยจึงตั้งใจไปฉลองโดยจะไปเที่ยวต่างจังหวัด ภรรยาเสนอว่าขับรถไปดีกว่าจะได้ประหยัดขับแค่ 8 ชั่วโมงก็ถึง นาย A มีงานมากเห็นว่าขับรถใช้เงินน้อยจริงแต่เสียเวลามากจึงแนะว่าเราไปเครื่องบินเถอะเสียไม่เท่าไหร่เิองเซฟเวลาด้วย

นาย B มีรายได้มากชอบซื้อมือถือใหม่ทุกๆ 3-4 เดือนที่มือถือใหม่ออก เวลาไปทำงานก็ขับรถไปเพราะสะดวกสบายแม้จะใช้เวลามากกว่านั่งรถสาธารณะก็ตาม นาย B เห็นว่าการซื้อประกันสุขภาพให้ลูกดูเป็นการจ่ายเงินทิ้งถึงจะเสียน้อยแต่ก็ไม่อยากเสียตังเรื่องไร้สาระพวกนี้ วันหนึ่งลูกชายป่วยเป็นหวัดเล็กน้อยด้วยการที่เห็นว่าเล็กน้อยจึงให้ภรรยาซื้อยาชุดรักษาตามอาการมาก็น่าจะหายแล้วปรากฏว่ารักษาเป็นเดือนแล้วลูกชายก็ไม่หายหวัดจึงจำใจต้องพาไปหาหมอ หมอบอกว่าอาการหนักมากเป็นหวัดลงกระเพาะ ต้อง admit เป็นเดือนทำให้นาย B ต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างมากจากเหตุการณ์ครั้งนี้

นาย A เมื่อดูเผินๆเหมือนเป็นคนที่งกมากๆไม่ยอมใช้ตังเลยแต่กลับจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวได้อย่างง่ายดาย ส่วนนาย B เหมือนจะเป็นคนที่ sport แต่ภายในบ้านกลับไม่ยอมดูแลค่าใช้จ่ายให้เรียบร้อย

ตัวอย่างของนาย A ถือว่าเป็นคนที่ใช้เงินคุ้มค่าซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีในการเป็นนักลงทุน การใช้เงินที่มีอย่างคุ้มค่านี่แหละคือสิ่งที่แยกระหว่างความงกและความประหยัดที่แท้จริง

ตัวอย่างของนาย  B เรียกว่าเข้าข่าย "เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย" ซึ่งก็คืองกนั้นแหละ

ในโลกของการลงทุนนั้นเราห้ามเป็นคนที่เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย เหตุการณ์ปี 40 (วิกฤตต้มยำกุ้ง) มีตัวอย่างของสถานประกอบการณ์มากมายที่ต้องล้มเพราะกู้เงินด้วยสกุลเงินต่างประเทศและไม่มีการ HEDGE ค่าเงินไว้(การ hedge คือการประกันไว้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องเป็นอัตราเดิมเสมอมักจะมีการเสีย fee บ้าง)  จึงทำให้ต้นทุนทางการเงินพุ่งสูงขึ้นเมื่อรัฐบาาลประกาศเงินบาทลอยตัว

ในการลงทุนเน้นคุณค่า(Value Investment) นั้นก็แค่การประยุกต์หลักการใช้เงินอย่างประหยัดนั้นเอง การลงทุนเน้นคุณค่าก็คือการซื้อหุ้นที่ราคาเหมาะสมกับคุณภาพของตัวหุ้นก็เท่านั้น หุ้นที่ดีมากเราก็ยอมจ่ายแพง หุ้นแย่หน่อยก็พอจะซื้อได้ถ้าเสนอราคาให้เหมาะสม

เปลี่ยนความคิดของคุณใหม่นะครับว่าคนรวยจริงเค้าไม่ได้งกแต่เค้าดูความคุ้มค่าในการใช้จ่ายของเค้าเท่านั้นเองจึงทำให้เค้าเป็นคนประหยัดไปโดยปริยาย ยังมีเรื่องราวและข้อดีของการประหยัดอีกนะครับในบทความ ความแตกต่างระหว่างความประหยัดและความงก(2) รับรองว่าคุณไม่นึกว่ามีความเหนือชั้นจากความประหยัดมากกว่างกเงินอีก

No comments:

Post a Comment