Tuesday, December 3, 2013

รวยจริง...รวยไม่จริง...บุญเก่า

เป็นบทความที่จะสร้างกำลังใจให้กับผู้ที่ยังไม่รวย เพราะแท้ที่จริงแล้วมันมีคำว่า"บุญเก่า" มาเป็นตัวแปรสำคัญ พร้อมทั้งยังแนบเนื้อเรื่องที่ดูมีเหตุผลและเป็นรูปธรรมมากที่บอกทิศทางของการเป็นมหาเศรษฐีของคนคนหนึ่งซึ่งต้องอาศัยตัวแปรอีกหนึ่งตัวนั่นก็คือ "เวลา"

คนเรามักจะพูดในสิ่งต่างๆเพื่อให้กำลังใจตัวเองอยู่เสมอเช่น "การจะรวยได้ต้องมีดวงเป็นส่วนใหญ่" , "การจะรวยเราต้องทำเลวและไร้จริยธรรม" เป็นต้น

จริงเหรอ?? ที่เราต้องอาศัยดวงและต้องเป็นคนเลว

การมีดวงผมไม่เถียงแต่ผมถือว่ามันเป็นเรื่องเดียวกับเรื่องบุญเก่าของเราครับ...แต่เรื่องราวของการเป็นคนเลวแล้วรวย อันนี้ผมยังไม่สามารถหาเนื้อเรื่องที่เป็นรูปธรรมมาอธิบายได้เลย ซึ่งคนเลวที่รวยก็มักจะรวยได้ไม่เท่าไหร่ อาจจะติดอันดับที่ 5,000,000 ของไทยมั้งครับ

ผมคิดว่าสิ่งที่พูดกันเหล่านี้เป็นกระบวนการปกป้องตัวเองของมนุษย์ เป็นการหาข้ออ้างเพื่อบอกเป็นนัยๆว่า"เหตุผลที่เราไม่รวยเพราะเราเป็นคนดี" หรือบอกเป็นนัยๆว่า"จริงๆแล้วเราเป็นคนมีความสามารถเพียงแต่เราไม่มีดวง" สิ่งเหล่านี้ที่ตนเองคิดก็เข้าเกณฑ์การถือตัวถือตนอีก(การชมตัวเอง) หรือการมีอัตตานั่นเอง (อ่านเพิ่มเติมเรื่องอัตตาได้ที่: อัตตาของมนุษย์กับความมั่งคั่ง(2))

จำเรื่องราวของประสิทธิภาพในการสร้างความมั่งคั่งในหัวข้อ ความแตกต่างระหว่างความประหยัดและความงก(3) ได้ไหมครับ??ที่บอกว่านอกจากใช้เงินตัวเองคุ้มค่าแล้วเรายังใช้สิ่งที่ยืมมาจากคนอื่นมาเพิ่มประสิทธิภาพส่วนทุนของเราได้ด้วย  หัวข้อนั้นถือว่าเป็นขั้น Advance ของการใช้เงินประหยัดนะครับ

นั่นแหละคือหลักปฏิบัติตลอดชีวิตของผู้ที่จะสร้างความมั่งคั่งที่แท้จริงครับ เพียงแต่เราต้องมีความรู้ทางด้านการเงินเพื่อบริหารสภาพคล่องของเงินสดให้มีเหลือเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นๆให้ได้ตลอดเวลา 

ผมขอยกตัวอย่างคนรวยจริงกับรวยไม่จริงให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งถ้าเราเห็นตัวอย่างนี้แล้วผมเชื่อว่าจะทำให้เรามีความอิจฉาคนรวยน้อยลง และ เข้าใจธรรมชาติของความรวยมากขึ้น

ตัวอย่างแรก

นาย A เป็นคนที่บ้านยากจนแต่มีความขยันขันแข็งไม่ย่อท้อ เริ่มทำงานเมื่อตอนอายุ 18 ปี ต่อมาพ่อแม่นาย A ตายตอนเขาอายุ 20 ปี และทิ้งมรดกไว้ให้ 20,000 บาท เขามีเงินเก็บอีก 5,000 บาท จึงเอามารวมกันและสร้างธุรกิจเล็กๆขึ้นมาอันหนึ่ง

นาย A ใช้เงินอย่างประหยัดและกู้เงินเพิ่มเติมมาลงทุนในธุรกิจ 

เมื่ออายุได้ 35 ปี(ผ่านไป 15 ปี) เขามีลูกคนแรก และธุรกิจที่เขาทำมีมูลค่า 385,175 บาท เนื่องจากธุรกิจที่เขาทำสร้างความมั่งคั่งให้เขา 20 %ทบต้นทุกปี

เขาสอนลูกให้ใช้เงินเป็นตลอดระยะเวลา 20 ปีต่อมา(นาย A อายุ 55 ปี) เขาก็ตาย โดยทิ้งมรดกให้ลูกเขาไว้ 14,766,706 บาท ซึ่งเกิดจากการทบต้นของผลตอบแทน 20% ต่อปี โดยจากความมั่งคั่งนี้ทำให้พ่อของเขาอยู่ในทำเนียบคนที่รวยที่สุดในไทยที่อันดับที่ 504,930

ลูกของเขาอายุ 20 ปีมีมรดกเริ่มต้น(ทุนเก่า) อยู่เกือบ 15 ล้านบาทก็เริ่มสร้างธุรกิจของพ่อเขาต่อไปอีก 35 ปี ซึ่งตอนที่เขาอายุ 55 ปีเท่ากับตอนที่พ่อเขาตาย ธุรกิจก็มีมูลค่า 8,722,223,923 บาท ลูกของเขาเลยกลายเป็นคนที่รวยติดอันดับ 7 ของไทยไปครับ

ตัวอย่างที่ 2 

ผมขอเริ่มที่ว่านาย B ตอนอายุ 20 ปีมีสมบัติและบริษัทเก่าของพ่อมูลค่า 15 ล้านบาทให้บริหารต่อครับ นาย B ไม่ได้ฝึกการบริหารการเงินที่ดีเลยไม่รู้ถึงหลักการใช้เงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วง 35 ปีหลังจากนี้นาย B ดูเป็นคนรวยมากใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่เคยทำบุญ ไม่เลี้ยงลูกน้อง บริษัทที่ดูอยู่ไม่เติบโต ผ่านไป 35 ปี ทำให้มูลค่าของบริษัทอยู่ที่ 10 ล้านบาทน้อยกว่าเดิมอีก

สิ่งที่น่าสังเกตจากนิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้ 

  1. เราจะมีเงินเยอะหรือว่าน้อยไม่ได้เป็นตัวกำหนดค่าของตัวเราเอง...มันอยู่ที่ความคิดและการกระทำที่ตัดสินว่าเราเป็นคนรวยหรือไม่ แต่ที่เรามีเงินน้อยอยู่มันก็เป็นเพียงแค่มี"ทุนเดิม(บุญเก่า)" และ "เวลา"ให้เราสั่งสมยังไม่เพียงพอ
  2. นึกถึงตัวเองไว้ว่า Generation ของเราเป็นยุคนาย A หรือว่ายุคพ่อแม่ของนาย A เพราะถ้าเป็นยุคพ่อแม่ของนาย A ผมก็ไม่มีนิยามให้คุณแล้ว
  3. สังเกตจากตัวอย่างแรก...ถ้าพวกเราที่ยังไม่รวยเปรียบเสมือนอยู่ในช่วงที่เป็นยุคนาย A ของตัวอย่างที่ 1 ล่ะ...พวกเราแค่มีทุนเก่าหรือบุญเก่าไม่เยอะเพียงพอที่จะทำให้รวยที่สุดในประเทศเท่านั้นไม่ได้หมายถึงว่าเราจะไม่รวยเลยในช่วงชีวิตนี้...ศึกษาเรื่องการเงินไว้ครับ
  4. แค่เพียงใช้เงินกับใช้เวลาให้คุ้มค่าเราก็จะมี speed ความรวยที่เร็วขึ้น
  5. ผมถือว่านาย A ตอนอายุ 20 ปีในตัวอย่าง 1 เป็นคนรวยจริงและนาย B ตอนอายุ 20 ปีในตัวอย่าง 2 เป็นเพียงคนรวยไม่จริงคนหนึ่ง แม้ว่าจำนวนเงินที่เรามาเปรียบเทียบกันนั้นห่างชั้นกันมากเหลือเกิน....อีกครั้งนึงครับมันอยู่ที่ความคิดของคนครับว่าจะเจ๋งไม่เจ๋ง ไม่ได้อยู่ที่เค้ามีเงินหรือว่าไม่มี
  6. บางคนบอกว่าเรื่องของผมไม่เข้าข่ายกับเรื่องราวของคนที่รวยแต่เด็กอย่างเช่น Mark Zuckerberg ผมจะบอกความลับให้ครับว่าทำไม Mark ถึงรวย เพราะ Mark มีบุญเก่านั่นคือสมองของเค้าไง!!! ทรัพย์สินที่ทำให้เค้ามีสัดส่วนหุ้นของ Facebook ก็คือเค้าเป็นคนอัจฉริยะซึ่งเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งซึ่งคนอื่นยอมรับในทรัพย์สินนี้จึงตีมูลค่าออกมาเป็นสัดส่วนหุ้นที่เค้ามีนั่นเอง(ถ้าตอนตั้งบริษัทเค้าไม่นับความฉลาดของ Mark เป็นทรัพย์สิน Mark ก็จะไม่มีหุ้นส่วนนั้นๆครับ)
  7. คนรวยที่พวกเราไปหาว่าเค้าเป็นคนไม่ดีและชอบดูถูกคน...อย่าไปคิดอย่างนั้นเพราะคนพวกนั้นเป็นคนรวยไม่จริงที่เพียงแค่มีบุญเก่ามาใช้เท่านั้น..การเป็นคนไม่ดีของเค้าก็เป็นตัวกำหนดทิศทางที่เค้าจะสร้างบุญใหม่ว่าจะยิ่งใหญ่ได้มากขึ้นแค่ไหน
ผมขอจบ blog ด้วยการถามให้คิดอย่างหนึ่งละกันครับว่าผมเคยบอกหรือไม่ครับว่าผมจะแนะนำวิธีการสร้างเงิน????

ไม่เลยครับ ผมมีแต่บอกว่าสร้างความมั่งคั่งหรือความรวย...จะถามคำถามนี้ทำไม??? ถามทุกคนเพื่อให้รู้ว่าผมไม่ได้ตัดสินความรวยหรือความมั่งคั่งของคนที่เงินไงครับ และก็อยากให้ทุกคนคิดอย่างนั้นเหมือนกันเพราะว่าถ้าเราจะสร้างเงินเพื่อให้เรามั่งคั่ง เราทุกคนจะมีวิธีการที่ไม่สุจริตและไม่สร้างสรรค์อีกเยอะที่สร้างเงินให้แต่เราจะไม่ได้ทรัพย์สินอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงินอีกเลยเช่น รูปปั้นตัวเราเมื่อตาย จำนวนคนที่รักเรา ครอบครัวที่อบอุ่น เป็นต้น

"อย่าเทิดทูนคนรวยมากเกินไปจนดูเหมือนตัวเองต่ำกว่า เรามีดีของเราเองเพียงแต่ทุนเดิมน้อยกว่าก็เท่านั้นเอง"  สู้ครับพี่ๆน้องๆทุกคน



Sunday, December 1, 2013

ทำไมไม่ถือหุ้นให้ยาวในเมื่อมันมีข้อดีขนาดนี้!!!!!!

เคยสงสัยว่าคนที่ลงทุนระยะยาวแบบซื้อหุ้นแล้วไม่ค่อยขายอย่างที่ Buffett ทำเค้าจะรวยได้อย่างไรป่าวครับ?? ในช่วงแรกที่ลงทุนในตลาดหุ้น ผมสงสัยในวิธีการนี้มาก โดยเฉพาวิธีการที่แนะนำว่าให้ถือหุ้นไปเรื่อยๆแม้ว่าหุ้นจะลงมาแรงๆก็ยังคงถือต่อไปอันนี้แหละที่ผมสงสัยที่สุดก็ถ้าเราไม่ขายแล้วเมื่อไหร่จะรวย

จนผมค้นพบความ connection กันระหว่างกฎข้อต่างๆที่ Buffett บอกไว้.....ผมขออธิบายเหตุการณ์ของการซื้อหุ้น 2 บริษัทตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

ปล.ในตัวอย่างทั้ง 2 มีการคำนวณพอสมควรโดยผมจะคำนวณปีที่ 1 - 4 ด้วยการเถือกธรรมดา แ้ล้วจะใช้สูตรคำนวณมูลค่าที่ทบต้นทบดอก ในปีที่ 10 อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะเข้าใจได้ซะทีสำหรับคนที่จะลงทุนนะครับนั่นคือ ROE

บริษัท A(Super stock และซื้อที่ราคากลางๆไม่ถูกเท่าไหร่)

มีคุณสมบัติ 3 ข้อดังนี้
1. ROE(กำไรหารด้วยมูลค่าทางบัญชี) 30 % ต่อปีโดยเฉลี่ย 10 ปีหลังสุด
2. P/BV (ราคาตลาดต่อหุ้น/มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น) ณตอนนั้น คือ 3 (สมมุติว่าบริษัทนี้มีมูลค่าทางบัญชีเท่ากับ 1 และมีราคาที่ขึ้นอยู่บนตารางหุ้นเท่ากับ 3 นั่นเอง)
3.ไม่ให้ปันผลเลย 10 ปีต่อจากนี้(กำไรที่ได้จะเอาไปลงทุนต่อตลอดเวลา 10 ปีต่อไป)

ผมตัดสินใจซื้อหุ้นA 1 หุ้นแล้วถือไว้ 10 ปีลองมาดูกันครับว่าความรวยผมจะเป็นอย่างไร
สิ้นปีที่ 1 หุ้นตัวนี้ทำเงินได้ = 30% * 1 = 0.3  บาท และหุ้นตัวนี้มีมูลค่าทางบัญชีใหม่เป็น = 1+0.3 =1.3 บาท ผมซื้อไว้ 3 บาทดังนั้นผมเหมือนรวยขึ้น เท่ากับ 10%(0.3 บาทเทียบกับราคา 3 บาทที่ซื้อ)
สิ้นปีที่ 2 หุ้นตัวนี้ทำเงินได้ = 30% * 1.3 = 0.39  บาท และหุ้นตัวนี้มีมูลค่าทางบัญชีใหม่เป็น = 1.3+0.39 =1.69 บาท ผมซื้อไว้ 3 บาทดังนั้นผมเหมือนรวยขึ้น เท่ากับ 23%(0.69 บาทเทียบกับราคา 3 บาทที่ซื้อ)
สิ้นปีที่ 3 หุ้นตัวนี้ทำเงินได้ = 30% * 1.69 = 0.51  บาท และหุ้นตัวนี้มีมูลค่าทางบัญชีใหม่เป็น = 1.69+0.51 =2.2 บาท ผมซื้อไว้ 3 บาทดังนั้นผมเหมือนรวยขึ้น เท่ากับ 40%(1.2 บาทเทียบกับราคา 3 บาทที่ซื้อ)
.......................
.......................
.......................  
สิ้นปีที่ 10 หุ้นตัวนี้มีมูลค่าทางบัญชีใหม่เป็น = 1* (1.3^10) =13.79 บาท ผมซื้อไว้ 3 บาทดังนั้นผมเหมือนรวยขึ้น เท่ากับ 426%(12.79 บาทเทียบกับราคา 3 บาทที่ซื้อ)

บริษัท B(หุ้นธรรมดาแต่ราคาถูก)

มีคุณสมบัติ 3 ข้อดังนี้
1. ROE(กำไรหารด้วยมูลค่าทางบัญชี) 10 % ต่อปีโดยเฉลี่ย 10 ปีหลังสุด
2. P/BV (ราคาตลาดต่อหุ้น/มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น) ณตอนนั้น คือ 1 (สมมุติว่าบริษัทนี้มีมูลค่าทางบัญชีเท่ากับ 1 และมีราคาที่ขึ้นอยู่บนตารางหุ้นเท่ากับ 1 นั่นเอง)
3.ไม่ให้ปันผลเลย 10 ปีต่อจากนี้(กำไรที่ได้จะเอาไปลงทุนต่อตลอดเวลา 10 ปีต่อไป)

ผมตัดสินใจซื้อหุ้นB 1 หุ้นแล้วถือไว้ 10 ปีลองมาดูกันครับว่าความรวยผมจะเป็นอย่างไร
สิ้นปีที่ 1 หุ้นตัวนี้ทำเงินได้ = 10% * 1 = 0.1  บาท และหุ้นตัวนี้มีมูลค่าทางบัญชีใหม่เป็น = 1+0.1 =1.1 บาท ผมซื้อไว้ 1 บาทดังนั้นผมเหมือนรวยขึ้น เท่ากับ 10%(0.1 บาทเทียบกับราคา 1 บาทที่ซื้อ)
สิ้นปีที่ 2 หุ้นตัวนี้ทำเงินได้ = 10% * 1.1 = 0.11  บาท และหุ้นตัวนี้มีมูลค่าทางบัญชีใหม่เป็น = 1.1+0.11 =1.21 บาท ผมซื้อไว้ 1 บาทดังนั้นผมเหมือนรวยขึ้น เท่ากับ 21%(0.21 บาทเทียบกับราคา 1 บาทที่ซื้อ)
สิ้นปีที่ 3 หุ้นตัวนี้ทำเงินได้ = 10% * 1.21 = 0.12  บาท และหุ้นตัวนี้มีมูลค่าทางบัญชีใหม่เป็น = 1.21+0.12 =1.33 บาท ผมซื้อไว้ 3 บาทดังนั้นผมเหมือนรวยขึ้น เท่ากับ 33%(0.33 บาทเทียบกับราคา 1 บาทที่ซื้อ)
.......................
.......................
.......................  
สิ้นปีที่ 10 หุ้นตัวนี้มีมูลค่าทางบัญชีใหม่เป็น = 1* (1.1^10) =2.59 บาท ผมซื้อไว้ 1 บาทดังนั้นผมเหมือนรวยขึ้น เท่ากับ 159%(1.59 บาทเทียบกับราคา 1 บาทที่ซื้อ)

สรุป

  1. "ซื้อหุ้นดีมากที่ราคากลางๆดีกว่าซื้อหุ้นธรรมดาราคาถูก"(ที่มา:FORBES)   ลองดูตัวเลขจากบริษัทที่ยกตัวอย่างมาแล้วคำนวณตัวเลขด้วยวิธีการเดียวกันไปต่ออีก 10 ปี(สิ้นปีที่ 20)แล้วดูความแตกต่างของทั้่ง A และ B............เห็นพลังการทบต้นหรือปล่าว??
  2. จากตัวอย่างของบริษัท A ให้ลองเปลี่ยนเป็นว่าคุณซื้อมันที่ราคาแพงกว่านั้นเยอะๆเช่น 6 บาท..............เห็นพลังจากการซื้อถูกหรือปล่าว??
  3. จากตัวอย่างเห็นผมพูดถึงราคาตลาดระหว่างที่ถือหุ้นอยู่บ้างรึเปล่า??ไม่มีเลย!!!!.....ไม่แน่ตอนปีที่ 10 อาจจะมีราคาตลาดที่มี P/BV = 3 ก็เป็นได้(ราคาตลาด 40 บาทต่อหุ้น)
  4. จากตัวอย่าง...คุณเห็นความรวยที่แท้จริงของการถือหุ้นระยะยาวบ้างหรือไม่อ่ะ???
  5. "หุ้นในตารางตัวนั้นอ่ะแพงจัง ราคาตั้ง 300 บาทต่อหุ้นแน่ะ" หรือ "หุ้นตัวนั้นถูกจังหุ้นนึงแค่ 1 บาทเอง".........การตัดสินความถูกความแพงของหุ้นมันไม่ได้ดูที่ตรงนั้นเลยนะครับ  สังเกตหรือไม่ว่าผมใช้อะไรตัดสินความถูกแพงในที่นี้.... P/BV ไง!!!

จบครับ....เห็นตัวอย่างแล้วก็อย่าเพิ่งคิดว่า"โห!!!การจะรวยมันง่ายขนาดนี้เลยเหรอ??" จริงๆแล้วมันมีความเสี่ยงที่ว่า"แล้วถ้าบริษัท A มันไม่ได้ทำผลงานดีอย่างนี้ต่อไปล่ะ?"....ผมจะไม่อธิบายต่อแล้วครับเนื่องจากคุณ Buffett และดร.นิเวศน์ได้สอนวิธีการเลือกหุ้นดีๆไว้และตั้งเป็นกฎให้เราไว้มากมายครับ..ลองไปศึกษาต่อเองดู

ถ้าเป็นผมเลือกธุรกิจ ผมจะเลือกบริษัทที่ KISS....Keep It Simple and Stupid(เราเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ชีวิตสบายชิวๆ)