Friday, March 21, 2014

เหตุผลที่คนโชคดี


คนเราโชคดีเพราะอะไร...ผมไม่เชื่อว่าเราจะโชคดีเพราะว่าอยู่ดีๆก็โชคดี 


คนบางคนแม้ว่าเขาจะโชคดีขนาดไหนแต่กลับมองว่าตัวเองโชคร้ายอยู่เรื่อย แต่พอมีเรื่องโชคดีกลับมองข้าม ดังเช่น เรามีพ่อแม่ที่ยังอยู่กับเราแล้วยังแข็งแรง...ตัวอย่างง่ายๆครับ

"มองโลกแง่ร้ายอย่างที่สุดเมื่อวางแผน และ มองโลกแง่ดีอย่างที่สุดเมื่อเจอปัญหา" เห็นด้วยไหมครับ

ผมเพิ่งได้รับบทความทาง line จากพี่ที่ทำงานเก่าในหัวข้อเรื่อง "5 things super lucky people do" ซึ่งเป็นข้อคิดที่ดีมาก(แต่ยาวไปนิดนึงเมื่ออ่านใน line) หาอ่านฉบับเต็มได้ตามนี้ http://www.inc.com/kevin-daum/5-things-super-lucky-people-do.html  

คนบางคนทำงานแล้วมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็มักจะบอกว่า "ซวย" หรือไม่ก็ประเภทที่ว่า  รู้อะไรไม่เก่งเท่ากับ "รู้งี้" แต่ถ้าอ่านบทความข้างบนนี้ก็จะเห็นเหตุผลว่าทำไมคนบางคนและมักจะเป็นคนเดิมๆที่ไม่เคยซวยเลย โชคดีตลอด

มีเพียงเส้นบางๆเท่านั้นที่กั้นระหว่าง "ความเสี่ยง" และ "ความซวย" โดยขออนุญาตแบ่งคนออกเป็น 3 ประเภทตามระดับการรับรู้ความเสี่ยงและการจัดการต่อความเสี่ยงนั้น
1.คนประเภทที่ไม่รู้เลยว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เราซวย
2.รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นแต่ไม่จัดการความเสี่ยงนั้น
3.รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและจัดการความเสี่ยงนั้น

คนรวยแล้วกลับเป็นจนมีอยู่มากมายก็คือคนประเภทที่2 (ประมาท) คนที่ไม่รู้และไม่เลือกจะรู้เพิ่มคือคนประเภทที่1 และคนประเภทที่3 คือคนที่ผมอยากให้ทุกคนได้ดำรงคุณสมบัตินี้

ขอให้โชคดี!!

Friday, February 7, 2014

บัตรเครดิต...กับการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ปัจจุบันมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้มนุษย์ใช้มากมายแม้แต่ในเรื่องการจ่ายเงินเราก็มีเทคโนโลยีบัตรเครดิต

มีสิ่งอำนวยความสะดวกเยอะขึ้นแต่ความรู้สึกลำบากในการใช้ชีวิตกลับมีมากขึ้น..เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจจริงๆ

ส่วนหนึ่งผมคิดว่าเราไม่จด...เมื่อเราไม่จดก็จะนำมาซึ่งการไร้ซึ่งแผนการเงิน

สิ่งหนึ่งของการสร้างความร่ำรวยคือการจดบันทึกรายรับรายจ่าย

เวลาเราใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต เราควรจะจดบัญชีอย่างไร?

สำหรับนักบัญชีก็คงไม่ยากที่จะเข้าใจระบบบัญชีส่วนบุคคล อยู่ที่ว่าเค้าจะทำบัญชีตัวเองหรือปล่าว

แต่สำหรับบุคคลในอาชีพอื่นอาจไม่รู้ว่าจะจดอย่างไร

ผมขอยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เราซื้อโทรศัพท์มือถือราคา 20,000 บาทด้วยบัตรเครดิตเราจะมีขั้นตอนธุรกรรมทางการเงินเป็นแบบนี้ครับ

ตอนแรก



มีเงินอยู่ 5,000 บาทและหนี้บัตรเครดิตยังไม่มีเลยซักบาท แสดงว่าเรามี Book Value ของตัวเองเท่ากับ 5,000 บาท

ขั้นตอนที่ 2

เอาบัตรเครดิตรูดซื้อโทรศัพท์มือถือราคา 20,000 บาท เปรียบเสมือนเราวิ่งไปที่ธนาคารขอกู้เงิน 20,000 บาทมาเป็นเงินสดในกระเป๋าตัง ตอนนี้เรามีเงินสดในกระเป๋าตัง 25,000 บาทและมียอดหนี้ 20,000 กับบัตรเครดิต Book Value ของตัวเองคือ 5,000 บาทเหมือนเดิม

ขั้นตอนสุดท้าย

เราเอาบัตรเครดิตคืนมาพร้อมกับเซ็นลายเซ็นบนSlip. เราก็ได้โทรศัพท์มือถือมาครอบครอง สังเกตว่าเราก็ยังมีBook value คือ 5,000 บาทเหมือนเดิม

สรุปคือ
คนที่ดูบัญชีเป็นน่าจะรู้ว่าค่าใช้จ่ายต่อๆไปที่จะลงในบัญชีคืออะไร (ค่าเสื่อมราคากับดอกเบี้ยบัตรเครดิตไงล่ะ!!)



Friday, January 17, 2014

ความจริงที่เกิดขี้นกับเหตุผลที่คนรวยต้องทำบุญ

ผมจะเล่าเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ให้ฟังเพื่อเสริมความเป็นเหตุเป็นผลของหัวข้อเรื่อง

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่ผมยกตัวอย่างขึ้นมาเป็นการยกขึ้นมาจากประสบการณ์ในชีวิตของตัวเอง ผมไม่ได้ต้องการที่จะพาดพิงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเสียหายหรือขุ่นข้องแต่อย่างใดครับ

เรื่องแรกจะทันสมัยกับเหตุการณ์บ้านเมือง(เดือนมกราคมปี 57)คือเหตุการณ์ที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองปิดถนนที่พวกเราต้องใช้เดินทางไปทำงาน ในเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้เดินทางสัญจรไม่สามารถเดินทางบนท้องถนนได้ทำให้ผู้คนเริ่มใช้รถสาธารณะประเภทรถไฟฟ้า BTS และรถไฟใต้ดิน MRT แทน  สถานการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้ได้ประโยชน์ก็คือรถไฟฟ้าทั้ง 2 เจ้า(คือมีรายได้จากคนขึ้นรถมากขึ้น) เมื่อมีผู้ได้ประโยชน์ผมขอถามครับ มีผู้ใดเสียเงินหรือรายได้บ้างจากเหตุการณ์นี้?? แน่นอนก็คือคนขับรถ Taxi ครับ อันนี้ชัดเจน

เรื่องที่ 2 เป็นการลงทุนในตลาดหุ้น(อันนี้ก็ทันสมัยเหมือนกันเพราะหุ้นลงแรงเหลือเกินในช่วงเดือนมกราคมปี 57) ในตลาดหุ้นจะมีผู้ที่ได้เงินจากการทำกำไรโดยการขายหุ้นโดยมีราคาตลาดสูงขึ้น และในทางกลับกันจะเกิดการขายหุ้นได้สมบูรณ์ต้องมีคนซื้อหุ้นเราไปด้วย ลองนึกภาพว่าหลังจากที่นาย A ซื้อหุ้นที่ 10 บาทพอราคาเป็น 12 บาทนาย A ก็ขายให้นาย B นาย B ถือหุ้นไป 2 วันราคาตกไปเหลือ 10 บาท นาย B ขายตัดขาดทุนกลับมาให้นาย A อีกรอบหนึ่ง(นี่เป็นเพียงเหตุการณ์สมมุติครับ ในตลาดหุ้นนาย A กับ นาย B ไม่ได้ซื้อหุ้นนั้นกันอยู่ 2 คนหรอก)จะเห็นได้ว่าเงินภายในระบบไม่ได้หายไปไหน มันมีอยู่เท่าเดิมนั่นแหละเพียงแต่เงิน 2 บาทถูกโยกจากนาย B มาสู่นาย A เพียงเท่านั้น

เรื่องที่ 3 เป็นการขายระบบป้องกันน้ำท่วม ขอถามหน่อยว่ารัฐบาลจะซื้อระบบนี้หรือไม่ถ้าน้ำไม่ท่วม คำตอบคือไม่ซื้อ สมมุติว่าบริษัทหนึ่งไม่เคยขายระบบป้องกันน้ำท่วมได้เลยหลังจากทำตลาดมาตั้ง 2 ปี แต่พอมาปีหนึ่งเกิดน้ำท่วมใหญ่ บริษัทนี้จึงขายระบบได้อย่างเทน้ำเทท่า ผมถามหน่อยครับเหตุการณ์ครั้งนี้แน่นอนผู้ได้ประโยชน์คือตัวบริษัทเองแล้วผู้เดือดร้อนหรือเสียเงินล่ะมีหรือไม่ คำตอบก็คือประชาชนที่บ้านถูกน้ำท่วมยังไงล่ะ!!

เหตุการณ์ทั้ง 3 เป็นตัวอย่างที่บอกว่าทุกครั้งคนที่รวยที่ได้ผลประโยชน์บางอย่างมักจะได้ประโยชน์นั้นจากความลำบากของผู้อื่นเสมอ ถ้าผู้ใดเคยเรียนวิทยาศาสตร์หรือว่าฟิสิกส์มาก่อนจะเข้าใจคำว่า "กฎการอนุรักษ์พลังงาน" คือพลังงานในระบบปิดหนึ่งๆจะไม่หายไม่ไหนเลย(ต้องขออภัยถ้าพูดถึงกฎนี้ผิดเนื่องจากผู้เขียนเรียนเรื่องนี้มานานแล้วครับ)

ผมเคยเจอคนที่ล้มเหลวในตลาดหุ้นท่านหนึ่งและได้มีโอกาสพูดคุยถึงประสบการณ์ของเขา บุคคลท่านนั้นได้สอนผมว่าคนไม่เคยเจ๊งไม่รู้ความรู้สีกของคนเจ๊งหรอก ท่านผู้นั้นสอนผมอีกว่าจงนำเงินกำไรนั้นคืนสู่สังคมเสมอเพราะมีผู้คนที่ลำบากเพราะเราอยู่ การทำบุญนั้นจะช่วยให้เรารำลึกถึงเขาและช่วยเตือนสติเราได้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมครับ...